เปลี่ยน Food Waste ให้กลายเป็นอาหารอร่อย

Food Waste หรือขยะอาหาร เป็นปัญหาที่พบเจอทั่วโลก ด้วยปริมาณขยะอาหารที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกวัน มากกว่า 1,300 ล้านตันต่อปี ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง ซึ่งในประเทศไทยทางกรมควบคุมมลพิษได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เมื่อปี 2564 พบขยะอาหารมากถึง 38.76% คิดเป็นปริมาณขยะอาหาร 9.68 ล้านตัน โดยทั่วไปขยะอาหารจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่รับประทานได้ คิดเป็น 39.5% และส่วนที่รับประทานไม่ได้ คิดเป็น 60.5%

Food Waste คืออะไร?

เป็นอาหาร หรือวัตุดิบที่เหลือทิ้งจากการใช้งาน จากการบริโภค เช่น เศษอาหารที่รับประทานไม่หมด เศษผักและผลไม้ อาหารกระป๋องที่หมดอายุ และยังรวมถึงอาหารเน่าเสีย ซึ่งขยะอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. อาหารส่วนเกิน คือ อาหารที่สามารถนำกลับมารับประทานได้ เช่น อาหารแห้ง อาหารกระป๋องที่เลยวัน “ควรบริโภค” แต่ยังไม่หมดอายุ อาหารสดที่รับประทานไม่ทัน อาหารที่เหลือหลังจากรับประทานไปแล้ว

2. ขยะอาหาร คือ คือ อาหารหรือเศษอาหารที่ไม่สามารถรับประทานได้ เช่น อาหารที่หมดอายุ เศษอาหาร และอาหารเน่าเสีย

Food Waste หรือขยะอาหาร หากไม่มีวิธีการจัดการขยะอาหารที่ดี อาจเกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมตามมา วันนี้ธารารมณ์ จึงอยากชวนทุกคนมาร่วมมือกัน เปลี่ยน Food Waste ให้กลายเป็นอาหารอร่อย ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Upcycled food คือ การนำเศษอาหาร และวัตถุดิบมาทำเป็นเมนูใหม่ให้น่ากิน เพื่อช่วยลดปริมาณขยะอาหารที่เกิดขึ้น

.

เมนูที่ 1 แกงโฮะ

อาหารพื้นบ้านของภาคเหนือ เกิดจากการที่นำอาหารเหลือหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วปรุงรสชาติขึ้นมาใหม่ตามความชอบ บางทีอาจเติมวัตถุดิบต่างๆ เพิ่มเข้าไปด้วย เช่น วุ้นเส้น เนื้อหมู หน่อไม้ ซึ่งวิธีนี้เป็นการช่วยจัดการปัญหาอาหารเหลือได้เป็นอย่างดี

ที่มา : www.tiktok.com/@kriang_2525

เมนูที่ 2 ข้าวจี่

อาหารพื้นบ้านของภาคเหนือและภาคอีสาน เป็นการนำข้าวเหนียวที่ทานไม่หมด มาปั้นรวมกันเป็นก้อนวงกลม ทาด้วยเกลือและชุบไข่ หลังจากนั้นนำไปจี่ไฟจนข้าวเหนียวเป็นสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมของไข่ ข้าวจี่เป็นอาหารที่ทำง่าย และช่วยจัดการปัญหาข้าวเหนียวเหลือจากการรับประทานไม่หมด

ที่มา : www.tiktok.com/@bpcookingroom41

เมนูที่ 3 แกงส้ม

อาหารไทยที่ได้รับความนิยมมาก และเป็นเมนูที่ช่วยจัดการ Food Waste ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นอาหารที่ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบได้ตามต้องการ สามารถนำผักที่เหลือใช้มาเป็นวัตถุดิบในการทำแกงส้มก็ได้ หรือจะเป็นพวกเปลือกแตงโมก็สามารถนำมาทำเป็นแกงส้มได้เหมือนกัน

ที่มา : www.tiktok.com/@fieldkitchen1111

หากทุกคนช่วยกันลดปริมาณขยะอาหาร รับประทานอาหารที่พอดี ไม่เหลือทิ้ง
ก็สามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้โลกของเราได้นั้นเอง

“เริ่มต้นจากตัวเรา เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”

อ่านข้อความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://tararomestate.com/blog/eco/

Share this post