1. การจดทะเบียนพาณิชย์
จะเหมือนกับการจดทะเบียนเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อจดทะเบียนแล้ว อาชีพที่ทำอยู่จะเป็นที่รับรู้ และถูก รับรองตามกฏหมายขึ้นมาทันที รายรับรายจ่ายแต่ละเดือนก็จะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ธนาคารจะยอมพิจารณาสินเชื่อได้ง่ายขึ้น แต่การจดทะเบียนพาณิชย์ลักษณะนี้ ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่ม จึงเป็นผลทำให้ฟรีแลนซ์หลายคนไม่อยากทำ แต่เมื่อแลกกับความคุ้มค่าเพื่อให้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ก็น่าทำ เลยทีเดียว
2. ต้องมีเงินในบัญชีมากกว่าวงเงินที่ขอกู้
ในกรณีที่ไม่อยากซื้อด้วยเงินสดที่มีอยู่ จะทำให้ทางธนาคารยอมพิจารณาสินเชื่อให้ฟรีแลนซ์ง่ายขึ้นเพราะ มีบัญชีเงินฝากเป็นหลักค้ำประกัน
3. เปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน
เพราะธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อกับลูกค้าที่มีเงินฝากประจำจำนวนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ และไม่ผิด
สัญญา เพราะแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่รายได้แน่นอนและมากพอที่จะชำระหนี้ได้ ข้อดีของการทำแบบนี้นอก
จากจะได้สินเชื่อแล้ว ยังได้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินออมก้อนใหญ่ในบัญชีด้วย
4. ยื่นเสียภาษี
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์หลายคนไม่ได้นึกถึง เพราะถ้าไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ไม่ได้เป็น เจ้าของกิจการ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) จะเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าเป็นผู้มีรายได้ จริงๆ และควรแนบใบนี้ไปด้วยในการขอสินเชื่อ
5. มีเงินฝากประจำครบ 1 ปี
หรือมียอดเงินเข้าออกในบัญชีแต่ละเดือนสม่ำเสมอ หรือรับค่าจ้างโดยผ่านสถาบันการเงินให้มากที่สุด เพื่อเดินบัญชีให้ครบ 1 ปี
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรมีก็คือวินัยทางการเงินที่ดี เพราะนอกจากจะกู้ผ่านแล้วยังทำให้ชีวิตของเรามี เงินใช้อย่างยั่งยืน มีความมั่นคงและปลอดภัยอีกด้วย
ที่มา : Home.co.th